เมื่อกล่าวถึง การขึ้นรูปเทคนิคที่ทำให้ เฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ไม่ได้มีแค่ทรงเหลี่ยม 

เชื่อว่าในบ้านของทุกคนจะต้องมีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากไม้ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง โซฟา หรือตู้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ผลิตขึ้นจากไม้ต่างชนิดกัน เช่น ไม้จริงจำพวก ยางพารา โอ๊ค สน สัก หรือไม้ประเภทอื่น ๆ ก่อนจะมาเป็น เฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ที่ใช้ในบ้านหรือสำนักงาน ชิ้นไม้ต้องผ่านการนำมาประกอบเสียก่อน โดยทั่วไปอาจประกอบขึ้นด้วยมือจากช่างไม้ผู้ชำนาญการ หรือประกอบในโรงงานที่ทันสมัย แต่ละชิ้นจะมีขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับฝีมือ ประสบการณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นจะส่งผลให้คุณภาพและความสวยงามของเฟอร์นิเจอร์ไม้มีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน

 

ไม้จริงที่เรานำมาทำเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นไม้เศรษฐกิจ หรือไม้ที่ปลูกขึ้นเพื่อจุดประสงค์นำมาใช้เป็นวัสดุโดยเฉพาะ ไม่ใช่ต้นไม้ที่ตัดจากธรรมชาติซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ในการใช้งานไม้ เราคำนึงถึงเรื่องความเป็นมิตรต่อระบบนิเวศ (Eco-freindly) มากที่สุด ไม้ทุกชิ้นส่วนต้องถูกตัดอย่างคุ้มค่า เศษที่เหลือต้องถูกใช้ให้หมดทุกส่วน เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์

 

ในส่วนของกรรมวิธีในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงให้สวยงามและโดดเด่น ต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบ โดยนักออกแบบมืออาชีพ เลือกประเภทของไม้ที่จะนำมาผลิต และต้องให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไม้ด้วย เช่น หนังสัตว์ โครงเหล็ก ฟองน้ำประเภทต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นการออกแบบก่อนการผลิตจริงจะต้องใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอน หลังจากออกแบบเสร็จเราจะเริ่มต้นผลิตตัวต้นแบบ (Protoype) ออกมาก่อน เพื่อทำการทดลองว่า สิ่งที่นักออกแบบได้ออกแบบมาแล้วนั้นใช้งานได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแค่ดูสวยงามเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ต้องทดสอบ ได้แก่ ความแข็งแรงของไม้ ความคงทนของสี ความแข็งของเบาะรอง หรือแม้กระทั่งการทดสอบการรับน้ำหนัก กว่าจะมาเป็นเฟอร์นิเจอร์แต่ละตัว เบื้องหลังต้องถูกทดสอบมากกว่าหลายร้อยชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้านั้นมีความแข็งแรง ทนทาน ปลอดภัย และสวยงามก่อนที่จะผลิตเสมอ

 

ด้วยความที่ชิ้นไม้มีลักษณะเป็นเหลี่ยม การสร้างสรรค์ผลงานเฟอร์นิเจอร์ออกมาให้เกิดความรู้สึกที่ไม่แข็งจนเกินไปจึงนับว่าเป็นเรื่องยาก บางจุดต้องเน้นความแข็งแรง แต่ก็ต้องการความสวยงามด้วย นักออกแบบส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ เทคนิคที่ทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้จริงไม่ได้มีแต่ทรงเหลี่ยม แต่ยังใช้เส้นโค้ง มีทั้งโค้งเพียงเล็กน้อย และดัดโค้งทำมุมไปถึง 90 องศา เมื่อนำมาผลิตจริงจึงต้องใช้เทคนิคในการทำไม้ให้มีส่วนโค้งเว้าตามแบบไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น เก้าอี้ประเภทที่มีพนักพิงกับเบาะนั่งเป็นชิ้นเดียวกัน และเก้าอี้บางดีไซน์ที่พนักพิงโอบล้อมตัวคนนั่งเอาไว้ในลักษณะตัว U

 

การทำให้ไม้มีส่วนโค้งนั้นทำได้หลายหลายวิธีทั้งการนำไม้ชิ้นใหญ่มาตัดให้เป็นโค้ง, การนำไม้หลายชิ้นมาต่อกัน หรือการดัดไม้ เป็นต้น ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงการนำชิ้นไม้มาต่อกันด้วยเทคนิค Finger joint, Through dovetail joint และ Half blind dovetail joint การเชื่อมประเภทนี้จะจะนำไม้สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกันให้เกือบเป็นเส้นโค้ง จากนั้นทำการขัดมุมให้มีความโค้งตามต้องการ อาจจะใช้วัสดุห่อหุ้มอย่างหนังสัตว์ หรือหนังเทียม เพื่อปกปิดรอยต่อ หรือบางครั้งก็ปล่อยเปลือยให้เห็นความดิบของเนื้อไม้ แต่จะมีการขัดและย้อมสีให้เข้มกว่าเก่า ประกอบกับทดสอบเป็นอย่างดีก่อนที่จะจำหน่ายสู่มือผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ออกไปจะมีคุณภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนาน

 

เทคนิคการดัดโค้งขึ้นรูปไม้อีกวิธีที่นิยมใช้กันในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ การอบไม้ทั้งแผ่นด้วยไอน้ำ และนำมาดัดด้วยเครื่องจักรเฉพาะ กรรมวิธีนี้เป็นการอบไอน้ำให้เนื้อไม้มีความอ่อนนุ่ม แล้วจึงส่งเข้าเครื่องดัด หลังจากนั้นค่อยอบร้อนให้ไม้แห้งจนได้รูปที่ต้องการ เมื่อไม้แห้งดีค่อยนำมาตัดหรือเจาะตามแบบ ส่วนใหญ่การดัดแบบนี้จะทำให้เฟอร์นิเจอร์มีความแข็งแรงมาก เนื่องจากใช้ไม้จริงทั้งแผ่นแบบไม่มีรอยต่อนำมาดัดขึ้นรูป  ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ไม่ได้มีแค่ทรงเหลี่ยม อีกต่อไป

 

โดยสรุป  การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงเข้าบริษัท หรือซื้อเพื่อวางในบ้าน ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทั้งการออกแบบ คุณภาพของวัสดุ เทคนิคการประกอบ และความแข็งแรงทนทาน เพื่อจะได้สินค้าเปี่ยมคุณภาพที่ทำจากไม้จริงและอยู่คู่สำนักงาน ร้าน หรือบ้านไปนาน ๆ ไม่ต้องกลัวชำรุดระหว่างการใช้งาน หากปัจจัยดังกล่าวมีหลายอย่างจนยากที่จะวางแผนด้วยตัวเองได้ อาจเริ่มจากการเลือกบริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่มีการรับประกันผลิตภัณฑ์หลายปีก่อน หรือบริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่มีโรงงานเป็นของตัวเอง ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องอะไหล่ที่จะมาทดแทนชิ้นส่วนที่ชำรุดในอนาคต

 

 

Facebook : https://www.facebook.com/promptcontract
Instagram : promptcontract